1. Q : ทำไมต้องขอจริยธรรมในมนุษย์
A : ตามจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นักวิจัยพึงมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช สังคม ฯ การศึกษาที่เกี่ยวข้องในคน ให้ปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคน โดยต้องเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ให้คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคน เพื่อรับรองหรือให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินงานวิจัย เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพวิจัยและจริยธรรมการวิจัย การศึกษาที่เกี่ยวข้องในคน หมายถึง กระบวนการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เกิดจากการกระทำต่อบุคคล ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม รวมทั้ง เวชระเบียนหรือฐานข้อมูล วัสดุ สิ่งส่งตรวจ น้ำคัดหลั่ง เนื้อเยื่อที่ได้จากร่างกายคน ศพ หรือสารพันธุกรรมใดของบุคคลที่อาจระบุถึงได้ และการศึกษาวิจัยต่อเซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์มนุษย์ และตัวอ่อน ที่มีเซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์มนุษย์รวมอยู่ด้วย การทดลองเภสัชผลิตภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ การศึกษาธรรมชาติของโรคการวินิจฉัย การรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การศึกษาทางสรีรวิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา การตอบสนองต่อการรักษาทางด้านกายชีวเคมี และจิตวิทยาที่กระทำต่อบุคคล และให้หมายความรวมถึงการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลองการประชุมกลุ่มทางสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ
2. Q : สามารถดาวน์โหลดเอกสารยื่นเสนอโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้ที่ไหน ?
A : สามารถดาวน์โหลดเอกสารยื่นเสนอโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้ที่หน้าเว็บไซต์หน่วยพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
http://hec.up.ac.th/ethics/ethicspage/downloadforms
3. Q : ต้องส่งยื่นเสนอโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ภายในอาทิตย์แรกของเดือน ?
A : การยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สามารถยื่นข้อเสนอโครงการมาได้ตลอดค่ะ
4. Q : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบแล้ว ต้องส่งเอกสารมายังหน่วยจริยธรรมฯ ด้วยหรือไม่
A : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องส่งเอกสารมายังหน่วยจริยธรรมฯ เพิ่มค่ะ
5. Q : เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมฯ จะต้องเป็นไฟล์รูปแบบไหน
A : เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมฯ ให้อัพโหลดในรูปแบบ PDF File พร้อมลายเซ็นนักวิจัยและผู้บังคับบัญชา
6. Q : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ต้องเลือกรูปแบบการพิจารณาโครงการ ด้วยหรือไม่
A : นักวิจัยสามารถเลือกรูปแบบการพิจารณาโครงการได้ ในแบบฟอร์ม UP-HEC 02 ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจริยธรรมฯ จะพิจารณารูปแบบโครงการให้เหมาะสมกับโครงการของนักวิจัยอีกครั้ง
7. Q : การยื่นขอจรรยาบรรณการใช้สัตว์สามารถใช้ระบบเดียวกันนี้ ได้หรือไม่
A : ระบบนี้ใช้สำหรับยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการขอจรรณยาบรรณการใช้สัตว์
8. Q : นักวิจัยสามารถติดตามสถานะของข้อเสนอโครงการ ได้อย่างไร
A : นักวิจัยสามารถติดตามสถานะของข้อเสนอโครงการได้ในระบบ ทั้งนี้เมื่อมีการปรับสถานะของข้อเสนอโครงการจะมีการแจ้งเตือนไปยังอีเมลของนักวิจัย
9. Q : ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะออกให้เป็นเอกสารฉบับจริงหรือเป็นอิเล็กทรอนิส์ไฟล์
A : ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะออกให้ในรูปของเอกสารฉบับจริงส่งให้นักวัจัย และรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ในระบบออนไลน์
10. Q : ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่อยู่ในระบบออนไลน์จะคงอยู่ในระบบตลอดหรือไม่
A : ใบรับรองจริยธรรมฯ จะคงอยู่ในระบบออนไลน์ตลอด นักวิจัยสามารถเข้าดูและดาวน์โหลดใบรับรองในระบบได้
11. Q : งานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมาน หรือ meta analysis ต้องยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมด้วยหรือไม่
A : งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมนุษย์ นักวิจัยสามารถยื่นเข้ามาขอรรับการพิจารณาได้ โดยงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์อภิมาน หรือ meta analysis เป็นการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยต่อผู้เข้าร่วมการวิจัย จะจัดอยู่ในรูปแบบการพิจารณาโครงการวิจัยแบบยกเว้น (Exemption Review)
12. Q : ถ้านักวิจัยจะขอข้อมูลที่โรงพยาบาล แล้วได้ใบรับรองจริยธรรมฯ จากโรงพยาบาลที่จะไปขอแล้ว นักวิจัยจะต้องมายื่นขอจริยธรรมฯ ที่มหาวิทยาลัยอีกหรือไม่
A : ในกรณีที่นักวิจัยได้ใบรับรองจริยธรรมฯ จากโรงพยาบาลแล้ว ต้องมายื่นขอจริยธรรม ฯ จากต้นสังกัดด้วย ซึ่งในกรณีที่ท่านสอบถามมาเกิดขึ้นได้น้อย ส่วนมากทางโรงพยาบาลจะขอเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ที่ยื่นขอจริยธรรมกับทางต้นสังกัดก่อน เพื่อใช้ยื่นขอจริยธรรม ฯ กับทางโรงพยาบาล
13. Q : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบแล้วจะสามารถชำระเงินได้ด้วยวิธีไหน
A : นักวิจัยสามารถชำระเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งส่งหลักฐานการชำระเงินเข้าระบบออนไลน์
14. Q : เอกสารโครงการของนักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบออนไลน์ จะเป็นความลับหรือไม่
A : โครงการที่ยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทุกโครงการจะเก็บเป็นความลับทั้งหมด
15. Q : การยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ต้องขอเมื่อไหร่
A : การยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมฯ ต้องยื่นขอก่อนเริ่มดำเนินการวิจัยทุกครั้ง คณะกรรมการฯจะลงวันที่รับรอง ณ วันที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น
16. Q : มหาวิทยาลัยมีแนวปฏิบัติ ในการทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาด้วยตนเอง ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในมนุษย์ หรือไม่
A : ตามประกาศของมหาวิทยาลัยเรื่องแนวปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์ ระบุเรื่องการยื่นขอจริยธรรม เอาไว้ในข้อที่ 10 (ประกาศ) และประกาศแนวปฏิบัติการศึกษาด้วยตนเอง ได้ระบุเรื่องการยื่นขอจริยธรรม เอาไว้ในข้อที่ 7 (ประกาศ) ว่าด้วย กรณีเป็นการวิจัยในมนุษย์นิสิตต้องแนบแบบอนุมัติให้ทำวิจัยในมนุษย์
1. Q : ทำไมต้องขอจริยธรรมในมนุษย์
A : ตามจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นักวิจัยพึงมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัยไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช สังคม ฯ การศึกษาที่เกี่ยวข้องในคน ให้ปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในคน โดยต้องเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ให้คณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคน เพื่อรับรองหรือให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินงานวิจัย เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพวิจัยและจริยธรรมการวิจัย
การศึกษาที่เกี่ยวข้องในคน หมายถึง กระบวนการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่เกิดจากการกระทำต่อบุคคล ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม รวมทั้ง เวชระเบียนหรือฐานข้อมูล วัสดุ สิ่งส่งตรวจ น้ำคัดหลั่ง เนื้อเยื่อที่ได้จากร่างกายคน ศพ หรือสารพันธุกรรมใดของบุคคลที่อาจระบุถึงได้ และการศึกษาวิจัยต่อเซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์มนุษย์ และตัวอ่อน ที่มีเซลล์หรือส่วนประกอบของเซลล์มนุษย์รวมอยู่ด้วย การทดลองเภสัชผลิตภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ การศึกษาธรรมชาติของโรคการวินิจฉัย การรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การศึกษาทางสรีรวิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา การตอบสนองต่อการรักษาทางด้านกายชีวเคมี และจิตวิทยาที่กระทำต่อบุคคล และให้หมายความรวมถึงการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลองการประชุมกลุ่มทางสังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ
2. Q : สามารถดาวน์โหลดเอกสารยื่นเสนอโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้ที่ไหน ?
A : สามารถดาวน์โหลดเอกสารยื่นเสนอโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้ที่หน้าเว็บไซต์หน่วยพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
http://hec.up.ac.th/ethics/ethicspage/downloadforms
3. Q : ต้องส่งยื่นเสนอโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ภายในอาทิตย์แรกของเดือน ?
A : การยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สามารถยื่นข้อเสนอโครงการมาได้ตลอดค่ะ
4. Q : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบแล้ว ต้องส่งเอกสารมายังหน่วยจริยธรรมฯ ด้วยหรือไม่
A : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องส่งเอกสารมายังหน่วยจริยธรรมฯ เพิ่มค่ะ
5. Q : เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมฯ จะต้องเป็นไฟล์รูปแบบไหน
A : เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมฯ ให้อัพโหลดในรูปแบบ PDF File พร้อมลายเซ็นนักวิจัยและผู้บังคับบัญชา
6. Q : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ต้องเลือกรูปแบบการพิจารณาโครงการ ด้วยหรือไม่
A : นักวิจัยสามารถเลือกรูปแบบการพิจารณาโครงการได้ ในแบบฟอร์ม UP-HEC 02 ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจริยธรรมฯ จะพิจารณารูปแบบโครงการให้เหมาะสมกับโครงการของนักวิจัยอีกครั้ง
7. Q : การยื่นขอจรรยาบรรณการใช้สัตว์สามารถใช้ระบบเดียวกันนี้ ได้หรือไม่
A : ระบบนี้ใช้สำหรับยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการขอจรรณยาบรรณการใช้สัตว์
8. Q : นักวิจัยสามารถติดตามสถานะของข้อเสนอโครงการ ได้อย่างไร
A : นักวิจัยสามารถติดตามสถานะของข้อเสนอโครงการได้ในระบบ ทั้งนี้เมื่อมีการปรับสถานะของข้อเสนอโครงการจะมีการแจ้งเตือนไปยังอีเมลของนักวิจัย
9. Q : ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะออกให้เป็นเอกสารฉบับจริงหรือเป็นอิเล็กทรอนิส์ไฟล์
A : ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จะออกให้ในรูปของเอกสารฉบับจริงส่งให้นักวัจัย และรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ในระบบออนไลน์
10. Q : ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่อยู่ในระบบออนไลน์จะคงอยู่ในระบบตลอดหรือไม่
A : ใบรับรองจริยธรรมฯ จะคงอยู่ในระบบออนไลน์ตลอด นักวิจัยสามารถเข้าดูและดาวน์โหลดใบรับรองในระบบได้
11. Q : งานวิจัยที่เป็นการวิเคราะห์อภิมาน หรือ meta analysis ต้องยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมด้วยหรือไม่
A : งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในมนุษย์ นักวิจัยสามารถยื่นเข้ามาขอรรับการพิจารณาได้ โดยงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์อภิมาน หรือ meta analysis เป็นการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยต่อผู้เข้าร่วมการวิจัย จะจัดอยู่ในรูปแบบการพิจารณาโครงการวิจัยแบบยกเว้น (Exemption Review)
12. Q : ถ้านักวิจัยจะขอข้อมูลที่โรงพยาบาล แล้วได้ใบรับรองจริยธรรมฯ จากโรงพยาบาลที่จะไปขอแล้ว นักวิจัยจะต้องมายื่นขอจริยธรรมฯ ที่มหาวิทยาลัยอีกหรือไม่
A : ในกรณีที่นักวิจัยได้ใบรับรองจริยธรรมฯ จากโรงพยาบาลแล้ว ต้องมายื่นขอจริยธรรม ฯ จากต้นสังกัดด้วย ซึ่งในกรณีที่ท่านสอบถามมาเกิดขึ้นได้น้อย ส่วนมากทางโรงพยาบาลจะขอเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ที่ยื่นขอจริยธรรมกับทางต้นสังกัดก่อน เพื่อใช้ยื่นขอจริยธรรม ฯ กับทางโรงพยาบาล
13. Q : นักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบแล้วจะสามารถชำระเงินได้ด้วยวิธีไหน
A : นักวิจัยสามารถชำระเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งส่งหลักฐานการชำระเงินเข้าระบบออนไลน์
14. Q : เอกสารโครงการของนักวิจัยที่ยื่นขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในระบบออนไลน์ จะเป็นความลับหรือไม่
A : โครงการที่ยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทุกโครงการจะเก็บเป็นความลับทั้งหมด
15. Q : การยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ต้องขอเมื่อไหร่
A : การยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมฯ ต้องยื่นขอก่อนเริ่มดำเนินการวิจัยทุกครั้ง คณะกรรมการฯจะลงวันที่รับรอง ณ วันที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น
16. Q : มหาวิทยาลัยมีแนวปฏิบัติ ในการทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาด้วยตนเอง ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในมนุษย์ หรือไม่
A : ตามประกาศของมหาวิทยาลัยเรื่องแนวปฏิบัติในการทำวิทยานิพนธ์ ระบุเรื่องการยื่นขอจริยธรรม เอาไว้ในข้อที่ 10 (ประกาศ) และประกาศแนวปฏิบัติการศึกษาด้วยตนเอง ได้ระบุเรื่องการยื่นขอจริยธรรม เอาไว้ในข้อที่ 7 (ประกาศ) ว่าด้วย กรณีเป็นการวิจัยในมนุษย์นิสิตต้องแนบแบบอนุมัติให้ทำวิจัยในมนุษย์